จับตาหนี้เสียนอนแบงก์พุ่ง ครัวเรือนเปราะบาง รายได้ไม่ฟื้น ค่าครองชีพสูง
“ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)” ได้เปิดรายงานเสถียรภาพระบบการเงินไทยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา พบว่าโดยรวมมีเสถียรภาพดี แต่ระยะข้างหน้าต้องติดตาม คุณภาพสินเชื่อเพราะการฟื้นตัวของแต่ละภาคเศรษฐกิจที่ยังมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะคุณภาพสินเชื่อของลูกหนี้รายย่อยและลูกหนี้ธุรกิจบางกลุ่มที่อาจเปราะบางมากขึ้น จากรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ และมีภาระหนี้อยู่ในระดับสูง ซึ่งมาจากภาระต้นทุนและค่าครองชีพที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจด้อยลง และอาจกระทบคุณภาพสินเชื่อรายย่อยได้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ทั้งนี้สินเชื่อขยายตัวต่อเนื่องจากสินเชื่อธุรกิจเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อรายย่อยขยายตัวชะลอลง สอดคล้องกับความเชื่อมั่นครัวเรือนที่ปรับลดลงภายใต้การระบาดของโควิด-19 ส่วนหนี้ด้อยคุณภาพ หรือเอ็นพีแอลในระบบธนาคารพาณิชย์ทรงตัวเป็นผลมาจากการปรับโครงสร้างหนี้และมาตรการช่วยลูกหนี้ ขณะที่มีเงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องสูงสามารถรองรับผลกระทบจากความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้
อย่างไรก็ตามต้องเฝ้าติดตามเอ็นพีแอลของสินเชื่อนอนแบงก์ เพราะเริ่มเห็นมีแนวโน้มคุณภาพสินเชื่อด้อยลง จากข้อมูลไตรมาสแรกปี 65 สินเชื่อรวมมีเอ็นพีแอล 2.4% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน จากหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไปเพิ่มขึ้นเป็น 3.4% จากเดิมต่ำกว่า 3% ของสินเชื่อรวม
ส่วนเอ็นพีแอลบัตรเครดิตกลุ่มนอนแบงก์อยู่ที่ 1.8% และสินเชื่อที่มีทะเบียนรถเป็นประกันของนอนแบงก์ 1.5% ซึ่งถือว่ายังทรงตัวจากช่วงก่อนหน้า โดยนอนแบงก์ขนาดใหญ่ในตลาดหลักทรัพย์กลุ่มธุรกิจการเงิน 10 แห่งในภาพรวมยังมีความมั่นคง ความสามารถในการทำกำไรโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี
ขณะที่ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาภาคครัวเรือนยังเปราะบางต่อเนื่อง จากภาระหนี้ที่สูงและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้ต่ำที่เปราะบางกว่ากลุ่มรายได้อื่นๆ เนื่องจากรายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ โดยล่าสุดเริ่มเห็นสัญญาณด้อยลงเล็กน้อยของคุณภาพสินเชื่อบัตรเครดิตและส่วนบุคคล ส่วนภาคธุรกิจขนาดใหญ่ฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง แต่ได้รับแรงกดดันจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม โดยต้องติดตามการฟื้นตัวของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น
ด้านธุรกิจเอสเอ็มอีมีสัญญาณการฟื้นตัวของรายได้ภายหลังจากการเปิดประเทศ แต่ยังมีความเสี่ยงจากปัญหาความสามารถในการชำระหนี้ โดยเฉพาะธุรกิจที่ได้รับแรงกดดันจากต้นทุนที่สูงขึ้น ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นและกลับมาเร่งเปิดโครงการอาคารชุดใหม่ต่อเนื่อง ขณะที่อุปสงค์ทยอยฟื้นตัวตามเศรษฐกิจและแรงสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ โดยต้องติดตามความต่อเนื่องของกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่อาจได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพและแนวโน้มทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณอุปทานคงค้างในระยะข้างหน้า
“ระบบธนาคารพาณิชย์มีความเข้มแข็ง เงินกองทุน เงินสำรองและสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สหกรณ์ออมทรัพย์ ที่มีสภาพคล่องส่วนเกินยังขยายการลงทุนในสินทรัพย์ทางการเงินอย่างต่อเนื่อง และอาจได้รับผลกระทบหากตลาดการเงินมีความผันผวนสูงขึ้น ขณะที่ตลาดการเงินผันผวนเพิ่มขึ้นจากความไม่แน่นอนของการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของประเทศเศรษฐกิจหลักและไทย รวมถึงความกังวลผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยคาดว่าจะผันผวนต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง”คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง