“อนุทิน-ศักดิ์สยาม” นำทีมไทยแลนด์ถกลาว ลุยคมนาคมเชื่อม 2 ประเทศ
เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่กรุงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมประชุมหารือกับนายเวียงสะหวัด สีพันดอน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านการพัฒนาเชื่อมโยงการขนส่ง การค้า การลงทุนของ สปป.ลาว เกี่ยวกับโครงการเชื่อมต่อทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โรงแรม Muong Thanh Luxury Vientiane Hotel สปป.ลาว
นายอนุทิน กล่าวว่า การประชุมร่วมกับกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สปป.ลาว ครั้งนี้ เป็นการประชุมสำคัญที่ทั้งประเทศไทย และ สปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้เป็น “หุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อก้าวไปข้างหน้าด้วยกันอย่างมั่นคงและยั่งยืน ถือเป็นการยืนยันคำหมายมั่นของประเทศไทยที่ต้องการจะส่งเสริม และสานต่อมิตรภาพและความร่วมมือระหว่างกัน ขอชื่นชมรัฐบาลลาวต่อการเปิดให้บริการโครงการรถไฟลาว-จีน ซึ่งเป็นเส้นทางรถไฟเชื่อมนครหลวงเวียงจันทน์กับคุนหมิง ที่จะส่งเสริมการขนส่งสินค้า และผู้โดยสารระหว่างลาวและจีนให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
นายอนุทินกล่าวต่อว่ารัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะทำให้การเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์เกิดประโยชน์สูงสุดต่อทั้งสองประเทศตลอดจนส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งอย่างเป็นระบบอีกทั้งจะช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
สำหรับการประชุมครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันหารืออย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะเป็นประโยชน์สำหรับทั้งสองประเทศจึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายนำผลการหารือไปปฏิบัติเพื่อให้การเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมมีความคืบหน้าและเกิดผลประโยชน์สูงสุดสุดร่วมกัน
ด้านนายศักดิ์สยามกล่าวว่าขณะนี้ฝ่ายไทยมีแผนเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟหนองคายไปยังสถานีรถไฟเวียงจันทน์ด้วยการพัฒนาสถานีรถไฟหนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งสินค้าผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่1ได้ซึ่งการหารือร่วมกันครั้งนี้เป็นนิมิตหมายอันดีที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกันที่จะพัฒนาและปรับปรุงความร่วมมือด้านการคมนาคมทั้ง4มิติเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมร่วมกันระหว่างสองประเทศสำหรับแผนการดำเนินการเชื่อมโยงทางรถไฟระหว่างไทยลาวและจีนมีรายละเอียดดังนี้
1.แผนการก่อสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดว่าเปิดให้บริการปี 69, โครงการรถไฟไฮสปีด เฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย อยู่ระหว่างปรับปรุงรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) คาดว่าเปิดให้บริการปี 71, โครงการรถไฟทางคู่ช่วงขอนแก่น-หนองคาย ระยะทางประมาณ 167 กิโลเมตร (กม.) สถานีทั้งหมด 15 สถานี คาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในปี 65คำพูดจาก เว็บดีฝากถอนปลอดภัย
2.การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟ และการใช้สะพาน ซึ่งในระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่ จะบริหารจัดการสะพานเดิมโดยเพิ่มขบวนรถขาไป 7 ขบวนและขากลับ 7 ขบวน รวม 14 ขบวน และเพิ่มจากขบวนละ 12 แคร่ เป็น 25 แคร่ โดยกรมทางหลวง (ทล.) ทำการทดสอบการรับน้ำหนักรถไฟ ในระดับ U-20 เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของสะพาน ส่วนการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ จะอยู่ใกล้กับสะพานเดิม ห่างประมาณ 30 เมตร มีทั้งทางรถไฟขนาดมาตรฐาน และทางขนาด 1 เมตร ปัจจุบันได้ข้อตกลงว่าฝ่ายไทย และฝ่ายลาว จะร่วมลงทุนค่าใช้จ่ายร่วมกันในอาณาเขตของแต่ละฝ่าย โดยกระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้ ทล. ดำเนินการออกแบบสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ให้สามารถรองรับรถยนต์ด้วย
นายศักดิ์สยามกล่าวต่อว่าทล.ได้ปรับการดำเนินการออกเป็น2เฟสแบ่งเป็นเฟสที่1การศึกษาความเหมาะสมของโครงการ(Feasibility Study : FS Study)และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น(Initial Environmental Examination: IEE)และเฟสที่2งานออกแบบรายละเอียด(Detailed Design)และงานศึกษาทบทวนผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ซึ่งขณะนี้ทล.ได้ประกาศร่างขอบเขตของงาน(Terms of Reference : TOR )สำหรับการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการ
3.การพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าแนวทางพัฒนาย่านขนถ่ายสินค้าของฝั่งไทย-ลาว เพื่อเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อในการขนส่งสินค้าข้ามแดนผ่านทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะเร่งด่วน การพัฒนาย่านสถานีหนองคายเป็นพื้นที่เปลี่ยนถ่ายสินค้า การเตรียมความพร้อมในการเปิดเส้นทางรถไฟจีน-ลาว โดยพัฒนาบริเวณสถานีที่มีพื้นที่ประมาณ 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ราง ซึ่ง รฟท. ได้ปรับปรุงพื้นที่บริเวณลานยกขนสินค้าเรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้กรมศุลกากรดำเนินการขอออกประกาศใช้พื้นที่บริเวณสถานีหนองคายเป็นพื้นที่ตรวจปล่อยจำนวน46,800ตารางเมตรโดยรฟท.อยู่ระหว่างพิจารณาแบ่งพื้นที่คงเหลือจากการใช้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อยออกเป็น5แปลงพื้นที่แปลงละ11,200ตารางเมตรเพื่อออกประกาศเชิญชวนจำนวน4แปลงและกันไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลาง1แปลงโดยจะกำหนดราคาค่าเช่าตามระเบียบต่อไปคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ส่วนระยะยาวการพัฒนาพื้นที่นาทาเพื่อเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า(เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าในอนาคต)พัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟนาทาจ.หนองคายให้สามารถรองรับการขนส่งจากจีน-ลาวและส่งออกไปยัง สปป.ลาวปัจจุบันรฟท.อนุมัติให้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาโครงการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐโครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางรางจ.หนองคายโดยคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จในปี65