Search for:
  • Home/
  • Games News/
  • อุตฯ ก่อสร้าง เจอความท้าทายต้นทุนสูง-ความเสี่ยงสภาพคล่อง

อุตฯ ก่อสร้าง เจอความท้าทายต้นทุนสูง-ความเสี่ยงสภาพคล่อง

มูลค่าการก่อสร้างภาครัฐในปี 2023 มีแนวโน้มขยายตัว 3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้าแตะระดับ 817,000 ล้านบาท จากโครงการเมกะโปรเจกต์ที่มีการก่อสร้างต่อเนื่องจากในอดีตมีความคืบหน้า รวมถึงยังมีการประมูล และก่อสร้างโครงการใหม่ๆ เช่น รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช) รถไฟทางคู่ เฟส 1,5 เส้นทาง ฯลฯ งบลงทุนในงบประมาณประจำปี 2023 เพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า

สำรวจทำเล "ตลาดเช่า" ย่านไหนดัชนีค่าเช่าเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบไตรมาส

อสังหาฯ ดัชนีราคา บ้าน คอนโด ลด 18% แต่ดอกเบี้ยยังสูงฉุดความต้องการ

และอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2023 ถึง ณ สิ้นเดือน มี.ค. 2023 ยังสูงกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมา

แต่…ยังมีปัจจัยท้าทาย คือ

ความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างภาครัฐใหม่ ๆ จากการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หลังการเลือกตั้ง รวมถึงการจัดทำงบประมาณประจำปี 2024 ที่อาจล่าช้าออกไปหลังไตรมาสที่ 4 ของปี 2023 และอาจมีผลต่อเนื่องไปยังการเริ่มดำเนินโครงการก่อสร้างภาครัฐในปี 2024

อาคารสำนักงาน พื้นที่ค้าปลีก ดันก่อสร้างภาคเอกชน

มูลค่าการก่อสร้างภาคเอกชนในปี 2023 มีแนวโน้มขยายตัว มาอยู่ที่ 586,000 ล้านบาท (+3%เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า) โดยเป็นการขยายตัวของมูลค่าการก่อสร้างที่อยู่อาศัย อสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ได้แก่ อาคารสำนักงาน และพื้นที่ค้าปลีก รวมถึงการ Renovate พื้นที่ค้าปลีก และโรงแรม เพื่อรองรับการฟื้นตัวของกำลังซื้อในประเทศ และนักท่องเที่ยวต่างชาติ

ภาพรวมภาคก่อสร้างในปี 2023 มีแนวโน้มขยายตัว 3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แตะระดับ 1.4 ล้านล้านบาท

3 ความท้าทายภาคก่อสร้าง

อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายของภาคก่อสร้าง ทั้งต้นทุนที่สูงขึ้น ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน และแรงกดดันจากเทรนด์ ESG

ต้นทุนก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง

ปี 2023 ราคาวัสดุก่อสร้าง เช่น เหล็ก ปูนซีเมนต์ มีแนวโน้มปรับตัวลดลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งราคายังมีความผันผวนระหว่างปี นอกจากนี้ จำนวนแรงงานไทยในภาคก่อสร้างที่กลับมาปรับตัวลดลง เป็นเหตุให้ค่าแรงงานในภาคก่อสร้างยังอยู่ในระดับสูง นำมาซึ่งความเสี่ยงให้อัตรากำไรของผู้ประกอบการยังคงอยู่ในระดับต่ำ

ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน

ปี 2023 ผู้ประกอบการที่รับงานก่อสร้างภาครัฐเป็นหลัก จะเผชิญปัจจัยท้าทายทั้งความล่าช้าในการอนุมัติโครงการก่อสร้างภาครัฐที่มูลค่าสูงหลังการประกาศยุบสภา รวมถึงการจัดทำงบประมาณประจำปี 2024 และการเบิกจ่าย ที่อาจล่าช้าออกไปหลังไตรมาสที่ 4 ของปี 2023

แรงกดดันจากเทรนด์ ESG

แรงกดดันจากกฎระเบียบ และความเสี่ยงในการประกาศให้หยุดการก่อสร้างในบางช่วง เช่น ฝุ่น PM 2.5 หนาแน่น เกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงแรงกดดันจากคู่ค้า ลูกค้า และผู้บริโภค เช่น การใช้วัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Green supply chain ความต้องการที่อยู่อาศัย และอาคารที่สามารถรองรับภัยพิบัติที่รุนแรงขึ้น อาคารที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามมาตรฐานอาคารที่ตอบโจทย์ด้านความยั่งยืน

SCB EIC มองว่า ผู้ประกอบการต้องควบคุมค้นทุนด้วยการพัฒนาศักยภาพ หรือร่วมมือพันธมิตรเพื่อประมูลงานก่อสร้าง รวมถึงระมัดระวังการเข้าประมูลแบบแข่งขันด้านราคา ร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) รวมถึงทำสัญญาสั่งซื้อวัสดุก่อสร้างล่วงหน้า ให้สอดคล้องกับความต้องการใช้

 อุตฯ ก่อสร้าง เจอความท้าทายต้นทุนสูง-ความเสี่ยงสภาพคล่อง

ส่วนการบริหารสภาพคล่องทางการเงิน โดยปรับสัดส่วนการรับงานก่อสร้างภาครัฐ และเอกชนให้เหมาะสม รวมถึงดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามแผน เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตามกำหนด

นอกจากนี้ ยังต้องทำให้ตอบโจทย์เทรนด์ ESG ด้วยการหาพันธมิตรวัสดุก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และลงทุนนำเทคโนโลยีก่อสร้างมาใช้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง