Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • “ไวรัสเกาะไวรัส” ความสัมพันธ์ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อน

“ไวรัสเกาะไวรัส” ความสัมพันธ์ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อน

“ไวรัส” คือแหล่งก่อโรคขนาดเล็กที่จะเข้าไปอยู่ในร่างกาย“โฮสต์” หรือสิ่งมีชีวิตอื่นไม่ว่าจะเป็นสัตว์ พืช แบคทีเรีย เพื่อขยายพันธุ์ของตัวเอง ส่งผลให้เกิดความผิดปกติหรือความเสียหายกับร่างกายของโฮสต์ อยู่รอดโดยการอาศัยอยู่ในเซลล์สิ่งมีชีวิตอื่น

แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์พบพฤติกรรมประหลาดของไวรัสตัวหนึ่ง ที่ “เกาะ” อยู่กับไวรัสอีกตัว เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างไวรัสที่นักวิทย์ไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งเหตุผลเบื้องหลังก็ไม่ใช่อะไรที่หวือหวา แต่เพื่อ “ความอยู่รอด”

ภูเขาไฟที่หลับใหลมานานเกือบ 500 ปี เสี่ยงเกิดการปะทุ!

ญี่ปุ่นพบเกาะใหม่ เพิ่งก่อตัวจากการปะทุของภูเขาไฟใต้ทะเล

นักวิทย์พบ “หลุมดำ” อายุเก่าแก่ที่สุด-อยู่ไกลที่สุด เท่าที่เคยพบมา

ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวถูกบันทึกไว้ด้วยกล้องจุลทรรศน์ลำแสงอิเล็กตรอน โดยไวรัสทั้งสองชนิดจัดอยู่ในประเภท “แบคทีริโอฟาจ” (Bacteriophage) หรือไวรัสที่กินแบคทีเรีย

ทากิเด เดคาร์วัลโญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ วิทยาเขตบัลติมอร์ กล่าวว่า “ไม่มีใครเคยเห็นแบคทีริโอฟาจหรือไวรัสอื่นๆ ติดอยู่กับไวรัสตัวอื่น”

จากภาพ ไวรัสตัวที่เล็กกว่า (สีม่วง) คือ ”ไวรัสบริวาร” (Satellite Virus) หรือไวรัสที่ไม่สามารถแพร่เชื้อและแพร่พันธุ์ภายในเซลล์โฮสต์ได้ หากไม่ได้รับความช่วยเหลือจาก “ไวรัสผู้ช่วย” (สีน้ำเงิน)

ไวรัสบริวารอาศัยไวรัสผู้ช่วยในการจำลองดีเอ็นเอ (DNA) ของพวกมันเมื่อพวกมันแทรกซึมเข้าไปในเซลล์โฮสต์ โดยบางครั้งไวรัสบริวารและไวรัสผู้ช่วยจำเป็นต้องแพร่เชื้อไปยังเซลล์เดียวกันพร้อมกัน ดังนั้นพวกมันจึงต้องอยู่ใกล้กันเมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนี้

อย่างไรก็ตาม ภาพใหม่ล่าสุดจากทีมวิจัย แสดงให้เห็นว่า ไวรัสบริวารที่เกาะอยู่กับไวรัสผู้ช่วยนนั้น จริง ๆ แล้วมันเกาะติดอยู่ที่บริเวณ “คอ” ของไวรัส

นักวิจัยได้ค้นพบโดยบังเอิญในขณะที่ดูตัวอย่างกลุ่มไวรัสที่กำลังกินเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตไมเซส (Streptomyces) ในตอนแรกพวกเขาคิดว่าตัวอย่างเกิดการปนเปื้อน แต่เมื่อตรวจสอบเพิ่มเติมด้วยกล้องจุลทรรศน์ ทีมวิจัยพบว่ากลุ่มแบคทีริโอฟาจผู้ช่วยประมาณ 80% มีไวรัสบริวารเกาะอยู่ที่คอ แปลว่า ปรากฏการณ์นี้ไม่ใช่ความผิดพลาดหรือความบังเอิญ และมีโอกาสเกิดขึ้นได้

ทีมวิจัยวิเคราะห์จีโนมของแบคเทอริโอฟาจเหล่านี้รวมทั้งโฮสต์ที่เป็นแบคทีเรีย และค้นพบว่า ไวรัสบริวารมียีนที่เข้ารหัสสำหรับเปลือกโปรตีนด้านนอกเท่านั้น แต่ไม่มียีนสำคัญที่จำเป็นในการเพิ่มจำนวนตัวเองภายในเซลล์แบคทีเรีย สิ่งนี้สนับสนุนแนวคิดที่ว่า แบคทีริโอฟาจทั้งสองชนิดนี้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันคำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง

 “ไวรัสเกาะไวรัส” ความสัมพันธ์ที่นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยเห็นมาก่อน

โดยไวรัสบริวารไม่มียีนที่จำเป็นในการรวมเข้ากับจีโนมของเซลล์โฮสต์ พวกมันจึงซ่อนตัวอยู่ในดีเอ็นเอของโฮสต์ และเมื่อมีไวรัสผู้ช่วยที่เหมาะสมเข้ามา ไวรัสบริวารก็สามารถจำลองตัวเองเพื่อขยายพันธุ์ได้

พูดง่าย ๆ ก็คือ ไวรัสบริวารมีเครื่องมือที่ใช้ในการขุดอุโมงค์ทลายกำแพง แต่ไม่มีรถที่จะขับเข้าไปข้างในอุโมงค์ ไวรัสบริวารจึงต้องการไวรัสผู้ช่วยในการขับรถเข้าไปในดีเอ็นเอของโฮสต์ เพื่อให้มันอยู่รอดได้

นักวิจัยพบว่า เพื่อรับประกันว่าไวรัสบริวาร-ไวรัสผู้ช่วยจะสามารถเข้าสู่เซลล์โฮสต์แบบไปด้วยกัน ไปพร้อมกัน ไวรัสบริวารจึงต้องเกาะติดกับผู้ช่วยโดยใช้หางที่มีการปรับตัวโดยเฉพาะเพื่อเกี่ยวคอของไวรัสผู้ช่วยไว้แบบไม่ปล่อยไปไหน

นักวิจัยกล่าวว่า การค้นพบนี้อาจก่อให้เกิดคำถามว่า แบคทีริโอฟาจเหล่านี้วิวัฒนาการมาได้อย่างไร รวมถึงวิธีที่ไวรัสบริวารเกาะติดกับไวรัสผู้ช่วย และสิ่งนี้เกิดขึ้นบ่อยแค่ไหน

เดคาร์วัลโญบอกว่า “เป็นไปได้ว่าแบคทีริโอฟาจจำนวนมากที่ผู้คนคิดว่ามีการปนเปื้อนนั้น แท้จริงแล้วคือระบบไวรัสบริวาร … ตอนนี้ ด้วยเอกสารฉบับนี้ ผู้คนอาจจะสามารถจำแนกปฏิสัมพันธ์ลักษณะนี้ได้มากขึ้น”

เรียบเรียงจาก University of Maryland, Baltimore County

ภาพจาก University of Maryland, Baltimore County

สรุปเงื่อนไขเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท เงินเดือนไม่ถึง 7 หมื่นได้แน่

วันหยุดเดือนธันวาคม 2566 เช็กเลยมีวันหยุดราชการ-หยุดยาววันไหนบ้าง

มาช้าแต่มาชัวร์! อุตุฯ จ่อประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวสัปดาห์นี้ กทม.อุณหภูมิต่ำสุด 17-18 องศา